ทำความเข้าใจประวัติศาสตร์ร่วม:
ชุดการสอนสำหรับเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
ชุดการสอนนี้เป็นผลจากการดำเนินโครงการ ในปี พ.ศ. 2556-2562 ขององค์การยูเนสโก โดยได้รับการสนับสนุนงบประมาณจากสาธารณรัฐเกาหลี
โครงการนี้ได้รับความร่วมมือจากนักประวัติศาสตร์ กระทรวงและโรงเรียน ครูและนักเรียนในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ วัตถุประสงค์หลักคือนำเสนอการเรียนการสอนประวัติศาสตร์เกี่ยวกับภูมิภาคในแนวทางที่ต่างออกไป โดยให้ความสำคัญกับอดีตที่มีร่วมกันเพื่อสร้างอัตลักษณ์ของภูมิภาคในอนาคต
หน่วยการเรียนต่างๆ ได้รับการพัฒนาขึ้นมาโดยคณะทำงานที่ประกอบด้วยนักประวัติศาสตร์และนักการศึกษา และได้รับการทดสอบเป็นการนาร่องใน 7 ประเทศ (บรูไน ดารุสซาลาม กัมพูชา อินโดนีเซีย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ ไทย และเวียดนาม) กับนักเรียนกว่า 4,000 คน บทเรียนที่นำเสนอในที่นี้ได้สะท้อนความคิดเห็นที่ได้รับจากการทดสอบนำร่องไว้แล้ว เพื่อให้เนื้อหามีความชัดเจนตรงประเด็นและสะดวกต่อการนำไปใช้สอน
บทเรียนในหน่วยการสอนทั้ง 4 หน่วยได้รับการออกแบบมาสำหรับครูสอนประวัติศาสตร์และสังคมศึกษาเป็นหลัก แต่สามารถใช้ได้กับวิชาอื่นๆ เช่น ภาษาหรือศิลปะ
เนื้อหาของบทเรียนนี้ออกแบบมาสำหรับนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น แต่สามารถปรับใช้กับนักเรียนในระดับที่สูงกว่าหรือต่ำกว่าได้
คู่มือสำหรับครู
คู่มือนี้จะช่วยให้ครูสามารถใช้หน่วยการสอน 4 หน่วยได้อย่างเต็มที่ ให้ข้อมูลและคำแนะนาในการใช้หรือปรับใช้บทเรียนเหล่านี้เพื่อให้ดำเนินการสอนได้ผลดีที่สุด
ผู้คนตอบสนองต่อสภาพแวดล้อมทางธรรมชาติที่แตกต่างกันในลักษณะที่แตกต่างกันไปที่ส่งผลต่อโลกทัศน์และวิถีชีวิตของพวกเขา
กลไกการปกครองและเกื้อกูลกันของอาณาจักรยุคแรกๆช่วยให้เราเห็นว่าเหตุใดเอเชียตะวันออกเฉียงใต้จึงเป็นภูมิภาคที่มีลักษณะเฉพาะตัวไม่เหมือนใคร
ข้าวและเครื่องเทศเป็นทรัพยากรที่มีค่ามากที่สุดของภูมิภาคและมีบทบาทสำคัญในพัฒนาการทางเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรมและการเมือง
อัตลักษณ์ที่ทั้งหลากหลายและคล้ายคลึงกันของชุมชนต่างๆในภูมิภาคนี้กำหนดวิสัยทัศน์แห่งอนาคตได้อย่างไร
หน่วยที่ 1
ผู้คนและถิ่นฐาน
หน่วยที่ 2
ศูนย์กลางอำนาจยุคต้น
หน่วยที่ 3
ข้าวและเครื่องเทศ
หน่วยที่ 4
สร้างวิสัยทัศน์เอเชียอาคเนย์